Academic

Sansern Rianthong is a Media and Design Instructor working for the Communication Department of Business, Economics and Communications at Naresuan University, Phitsanulok, Thailand.

Research

Developing the Thai-naris handwriting to typeface design (2022)

Abstract: This research is for studying the form and developing Thai-Naris handwriting scripts. Then, to design and evaluate the typefaces. It starts with studying the information and reviewing the relevant literature. Secondly, defining the scope of works. Thirdly, developing the handwriting scripts before creating typefaces. Finally, evaluating the typeface with the assessment criteria covers three aspects of the typeface design principle such as appearance, efficiency and implication. The result is a Thai-Naris handwriting typeface named ZoodSamai representing many personalities and suitable for a variety of works. According to the evaluation, it was found that the appearance of the typeface was the most appropriate. The efficiency of the typeface was appropriate. In terms of implication, it is suitable for works with intensity, serene, sophistication and excitement personalities.

การพัฒนาตัวอักษรแบบไทยนริศ สู่การออกแบบตัวพิมพ์ (2559) 

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนาตัวอักษรแบบไทยนริศ ก่อนนำมาออกแบบตัวพิมพ์ และทำการประเมินผล งานวิจัยชิ้นนี้ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ รูปแบบเพชรคู่ เริ่มจาก 1) ศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) กำหนดขอบเขตการออกแบบ 3) พัฒนารูปแบบการเขียนตัวอักษรและนำไปออกแบบตัวพิมพ์ และ 4) ประเมินผลงานการออกแบบตัวพิมพ์จำนวนสามด้าน ได้แก่ ด้านรูปลักษณ์ ด้านประสิทธิภาพ และด้านนัยยะการใช้งาน โดยมีนักออกแบบตัวอักษรและกลุ่มบุคคลทั่วไปเป็นผู้ประเมินผลงาน ผลที่ได้จากการวิจัย คือ ตัวพิมพ์แบบไทยนริศชื่อ สุดสมัย ซึ่งมีสัณฐานค่อนข้างกว้างและสรีระโดยรวมดูโค้งมนมากกว่าเหลี่ยมตรง ตัวพิมพ์นี้มีหลายบุคลิกสามารถใช้กับงานหลากประเภท จากการประเมินผลงานทำให้ทราบว่า ตัวพิมพ์มีความเหมาะสมด้านด้านรูปลักษณ์ ระดับมากที่สุด และด้านประสิทธิภาพ ระดับมาก ส่วนด้านนัยยะของตัวพิมพ์มีเหมาะสมสำหรับงานที่มีบุคลิกจริงจัง บุคลิกสุขุม (ใจเย็น) บุคลิกเชี่ยวชาญ (มืออาชีพ) และ บุคลิกหวือหวา (เคลื่อนไหว)

Pixel Art for Representation the Identity of Buddhabhudha Community, Phitsanulok (2021)

The objective of this creative research is to study the identity of the Buddhabhudha community, Phitsanulok, and to use that information to create pixel art presenting the identity of the community. Research methods began with surveying the area for collecting data. From then, use the findings as a guideline for creating works. Beginning with conceptualisation, job scoping, creating a prototype image, creating a presentation image, and then taking the resulting work assessed by locals and experts and distributed via digital media. The results of this research are seven views of pixel art images such as top, top-down, 45° dimetric, side scroller, Isometric, oblique and true perspective. All of them have characteristics of pixel Art which are using the dot, limited colour palettes, grid arrangement and deliberately arrangement. They represent the three distinctive identities of Buddhabhudha Community, Phitsanulok. such as area Identity, lifestyle identity and historical identity.

ศิลปะพิกเซลเพื่อนำเสนออัตลักษณ์ของชุมชนพุทธบูชา จังหวัดพิษณุโลก (2564)

งานวิจัยสร้างสรรค์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนพุทธบูชา จังหวัดพิษณุโลก แล้วนำข้อมูลนั้นมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะพิกเซลเพื่อนำเสนออัตลักษณ์ของชุมชน วิธีการวิจัยเริ่มจากการลงสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาอัตลักษณ์ของชุมชน จากนั้นนำสิ่งที่ค้นพบมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยกระบวนการสร้างสรรค์เริ่มจากการกำหนดแนวความคิด การกำหนดขอบเขตงาน การสร้างภาพต้นแบบ การนำเสนอผลงาน จากนั้นนำเอาผลงานที่ได้ ไปประเมินโดยผู้คนในชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อดิจิทัล ผลจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะพิกเซล จำนวน 7 มุมมอง ได้แก่ 1. มุมมองจากด้านบน 2. มุมมองจากบนลงล่าง 3. มุมมองไดเมตริก 45 องศา 4. มุมมองด้านข้าง 5. มุมมองออบลิค 6. มุมมองไอโซเมตริก และ 7. มุมมองทัศนียภาพจริง ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นล้วนมีลักษณะเฉพาะของศิลปะพิกเซล ได้แก่ การใช้จุดพิกเซล การจำกัดจำนวนสีใช้ การจัดเรียงตามแนวตาราง และการจัดเรียงอย่างละเอียดและจงใจ นอกจากนั้นยังสะท้อนอัตลักษณ์อันโดดเด่นของชุมชนพุทธบูชา จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ อัตลักษณ์ด้านพื้นที่ อัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิต และอัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์

Article

The Connection of Thai Typeface in the Context of Evolution and Letter Formation (2023)

Objectives: This academic article describes the connection of Thai typeface in the context of evolution and letter formation. It is for classifying the categories of Thai typeface. Methods: Studying the Thai typeface from documents and historical evidence. Categorize the typeface from the letter formation techniques in each era. Then analyze and synthesize the connection of each typeface category. Results: It was found that, In the late Ayutthaya period, Letter structure became like the current Thai script. After then, it was developed into a variety of Thai typeface. The characteristics of the Thai typeface can be divided according to the evolution and letter formation into seven typologies for instance 1) Ancient-Like Thai 2) Arluck 3) Handwriting 4) Thai Ribbon 5) Standard Thai 6) Latin-Like Thai and 7) Decoration. Application of this study: This article is useful for those interested in typeface design, design history and local wisdom. It can be further developed in creative works, branding, marketing communications and database management.

ความเชื่อมโยงของชุดตัวอักษรไทยในบริบทของวิวัฒนาการและการสร้างรูปอักษร (2566) 

วัตถุประสงค์: บทความวิชาการเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายการเชื่อมโยงของตัวอักษรไทยในบริบทของวิวัฒนาการและการสร้างรูปอักษร เพื่อจำแนกหมวดหมู่ของแบบตัวอักษรไทย วิธีการศึกษา: ศึกษารูปแบบตัวอักษรไทยจากเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จำแนกกลุ่มของชุดตัวอักษรตามเทคนิคการสร้างรูปอักษรในแต่ละยุคสมัย จากนั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์ความเชื่อมโยงของชุดอักษรแต่ละรูปแบบ ผลการศึกษา: ตัวอักษรไทยช่วงอยุธยาตอนปลาย มีโครงสร้างอักษรใกล้เคียงกับอักษรไทยปัจจุบัน ต่อมาพัฒนาเป็นอักษรไทยหลากหลายรูปแบบ โดยสามารถแบ่งลักษณะของชุดอักษรไทยตามวิวัฒนาการและรูปแบบการสร้างรูปอักษร ออกได้ 7 รูปแบบหลัก ดังนี้ อักษรไทยเสมือนโบราณ อักษรอาลักษณ์ อักษรลายมือ อักษรไทยริบบิ้น อักษรไทยมาตรฐาน อักษรไทยเสมือนละติน และ อักษรประดิษฐ์ การประยุกต์ใช้: บทความนี้มีประโยชน์สำหรับผู้สนใจงานด้านการออกแบบชุดตัวอักษร ประวัติศาสตร์การออกแบบ และภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำไปต่อยอดในงานสร้างสรรค์ การสร้างแบรนด์ การสื่อสารการตลาด และการจัดการฐานข้อมูล

The Timeline and Change of Communities in The Area of Paknampo Before 1957 (2023)

This academic article shows the story of Paknampo area in Nakhonsawan province from the Sukhothai period until 1957. The content covers the settlement and roles of the town in various periods from Phrabang in Sukhothai period, to Nakhonsawan in Ayutthaya period until Rattanakosin period. The beginning of a trading community at Paknampo area on Nan riverside to the development of Paknampo town on Ping riverside and the west side of the Chaophraya river at present. In summary, the change in Paknampo area is divided into three periods. The first period was from the Sukhothai until late Ayutthaya, the second period was from the late Ayutthaya period of King Narai until 1900 and the third period was from after 1900 until 1950. It is for the benefit of studying local history and learning the way of life of the people in Paknampo in the past.

เส้นเวลาและการเปลี่ยนผ่านของชุมชนในพื้นที่ปากน้ำโพ ก่อนปี พ.ศ. 2500 (2566)

บทความวิชาการชิ้นนี้ นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของพื้นที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปี พ.ศ. 2500 เนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับการก่อตั้งเมืองและบทบาทของเมืองในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่ เมืองพระบางในสมัยสุโขทัย เมืองนครสวรรค์ในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การก่อตั้งชุมชนค้าขายบริเวณปากน้ำโพในฝั่งแม่น้ำน่าน สู่การพัฒนาเมืองปากน้ำโพฝั่งแม่น้ำปิงและฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน โดยสรุปการเปลี่ยนผ่านของชุมชนในพื้นที่ปากน้ำโพออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเวลาที่หนึ่ง เริ่มสมัยสุโขทัยและสิ้นสุดสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่วงเวลาที่สอง เริ่มสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ จนถึงปี พ.ศ. 2443 และ ช่วงเวลาที่สาม ตั้งแต่ หลังปี พ.ศ. 2443 จนถึง พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและเรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ปากน้ำโพในอดีต

Pixel Art in Creative Arts and Design (2020)

Pixel art is the art of arranging dots (pixels) along the grid to create images with limited colours. The origin of Pixel art comes from creating low resolution images with computer software. Then became a computer graphics visualization technique to support the limitation of processor and memory in computers and video games with cartridge-based data recording. Technological limitations of video game players are important factors in determining the number of colours used in Pixel art, which makes the Pixel art became a memorable and applied on many types of media today. This article gathers background information, limitations, analysing the unique characteristics, process and types of Pixel art. Including the introduction of Pixel art in Creative works to be useful to those interested in using it as a guideline for creating works of art and design.

ศิลปะพิกเซลในงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและการออกแบบ (2563)

ศิลปะพิกเซลเป็นศิลปะการจัดเรียงจุดตามแนวตารางเพื่อทำให้เกิดเป็นภาพที่มีจำนวนสีจำกัด จุดกำเนิดของศิลปะพิกเซลมาจากการสร้างสรรค์ภาพความละเอียดต่ำด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และพัฒนามาเป็นเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อรองรับหน่วยประเมินผลและหน่วยความจำที่จำกัดของวีดีโอเกมที่มีการบันทึกข้อมูลแบบคาร์ทริดจ์ จากข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีของเครื่องเล่นวีดีโอเกมที่เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดจำนวนสีที่ใช้ในงานศิลปะพิกเซล กลายเป็นเสน่ห์ที่น่าจดจำและถูกนำมาประยุกต์ใช้บนสื่อหลายประเภทในปัจจุบัน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลความเป็นมา ข้อจำกัด วิเคราะห์ลักษณะเฉพาะ กระบวนการสร้างสรรค์ และประเภทของศิลปะพิกเซล รวมไปถึงการสร้างสรรค์ศิลปะพิกเซลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในการใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและงานออกแบบ

Teaching Subjects

Undergraduate

Postgraduate

Visiting Lecturer & Instructor

  • 2017: PHAYAO UNIVERSITY, Faculty of Architecture and Fine Arts. Subject: Typography and Lettering
  • 2017: NARESUAN UNIVERSITY, Faculty of Architecture. Subject : Typography and Lettering
  • 2016: SRIPATHUM UNIVERSITY, Faculty of Digital Media. Subject : Publication Design Program
  • 2016: NARESUAN UNIVERSITY, Faculty of Architecture. Subject : FontLab Computer Graphic
  • 2016: NARESUAN UNIVERSITY, Faculty of Architecture. Subject : Media Art
  • 2016: NARESUAN UNIVERSITY, Faculty of Architecture. Subject : FontLab Computer Graphic
  • 2014-Present: SRIPATHUM UNIVERSITY, Faculty of Digital Media. Subject : Typography and Lettering Program
  • 2014: NARESUAN UNIVERSITY, Faculty of Architecture. Subject : Typography and Lettering Program
  • 2006-2007: NARESUAN UNIVERSITY, Faculty of Architecture. Subject : Typography and Lettering Progra

Expert

  • Digital Media Planning
  • Digital Content
  • Graphic Design
  • Typography
  • Typeface
  • Design Thinking
  • Pixel Art
  • Web Design
  • Public Art
  • Motion Picture Editting

Interest

  • Sound Design
  • Lighting Production
  • Performing Art
  • Documentary Film
  • Muay Boran
  • Ancient Thai Weapon
  • History
  • Design Thinking